เพื่อเป็นการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคกระดูกพรุน รศ.นพ.ปัญญา แนะนำเพิ่มเติมว่า ร่างกายควรได้รับสารอาหารต่างๆ ได้แก่ แคลเซียม ในวัยผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรรับประทานแคลเซียมให้ได้1200 – 1500 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าเราให้ความสนใจดูแลรักษาโดยรับประทานอาหารที่มีคุณภาพเพราะร่างกายต้องการแร่ธาตุที่สำคัญเพื่อมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือเติมเต็มสิ่งที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หน้าที่ของแคลเซียมคือ ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง กล้ามเนื้อและประสาททำงานเป็นปกติ กระตุ้นการแข็งตัวของเลือดหลังการบาดเจ็บ และควบคุมการทำงานของเอ็นไซม์และการเต้นของหัวใจ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม คือปลาตัวเล็กที่รับประทานทั้งกระดูก และผักใบเขียวที่ปลอดสารเคมี นม โยเกิร์ต ถั่วเหลือง ถั่วเขียว งา เป็นต้น
“แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรคกระดูกพรุน คือ 'ออกกำลังกายอย่างน้อย 20 นาที เป็นประจำทุกวัน' เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกระแทกกระดูกให้เปิดรู ซึ่งจะทำให้การดูดซึมแคลเซี่ยมเป็นไปได้ด้วยดี เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกทำให้กระดูกแข็งแรงไม่แตกหักได้ง่าย”