ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ต้องอาศัยการสังเกตและใส่ใจจากญาติและผู้อยู่ใกล้ชิดมากเป็นพิเศษ เพราะหลายครั้งอาการที่แสดงออกมา คล้ายคลึงกับอาการของความเปลี่ยนแปลงร่างกายและความเสื่อมทั่วไป เช่นหมดเรี่ยวแรง หรืออาจมีปัจจัยที่มีความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เช่นการสูญเสียหรือการเจ็บป่วย ทำให้หากไม่เข้าใจหรือใส่ใจความเปลี่ยนแปลงเพียงพอ อาจจะทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าพลาดโอกาสในการรักษาให้ดีขึ้นได้
ในตอนที่แล้วเราได้เล่ากันถึงความน่ากลัวและความน่าสนใจของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุกันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาเล่ากันต่อถึงอาการแสดงที่ค่อนข้างเฉพาะของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และคำแนะนำว่าในฐานะญาติหรือคนที่รักของผู้สูงอายุ เรามีแนวทางช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง
หมอมีข้อสังเกต 3 ข้อในการช่วยสังเกตอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุ
ในฐานะผู้ที่ใช้เวลาอยู่กับผู้ป่วยมากที่สุด หมอขอฝากแนวทางในการร่วมดูแลผู้สูงอายุไว้ 3 ข้อเพื่อให้ไปปรับใช้กันในบ้านที่อาจจะมีผู้สูงอายุอยู่
ก่อนจบบทความนี้ นอกจากความรู้และเกล็ดเล็กน้อยที่แลกเปลี่ยนกันไปแล้ว หมออยากเป็นกำลังใจให้กับญาติผู้สูงอายุทุกท่านที่ได้อ่านกันมาถึงตรงนี้ เพราะผู้ดูแลทุกท่านที่ต้องดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ย่อมมี ‘ความหนัก’ ที่ต้องแบกรับไว้กันทุกรายอยู่แล้ว แต่ถ้าผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า ผู้ดูแลย่อมต้องแบกรับความเครียดทั้งกายและใจมากเป็นพิเศษ ญาติหรือผู้ดูแลต้องอย่าลืมดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย หากรู้สึกว่าหนักเกินไป หรือมีความรู้สึกว่า ‘ไม่ไหว’ ให้ลองหาผู้ช่วยเหลือหรือปรึกษาแพทย์เพื่อร่วมกันหาทางออก อย่างไรทางพรการุณขอเป็นกำลังใจให้ทั้งญาติและผู้สูงอายุด้วยนะครับ
ที่มา https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3184156/