เฮโรอีน (heroin) เป็นสารเสพติดที่มีความร้ายแรงมาก เฮโรอีนเป็นสารเสพติดที่มีโมเลกุลต่ำ จึงสามารถผ่านรกไปสู่ทารกได้ ทารกจึงติดเฮโรอีนไปด้วย และจากการมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
1.ทารกมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxia) เนื่องจากฤทธิ์เฮโรอีนจะไปยับยั้ง enzyme oxidative metabolism และยับยั้งการนำออกซิเจนไปสู่เซลล์ ร่วมกับการที่หลอดเลือดของสายสะดือมีการหดตัว ทำให้การแพร่กระจายของออกซิเจนไปยังสมองของทารกน้อยลง นอกจากนี้ ถ้าสตรีตั้งครรภ์ได้รับเฮโรอีนเกินขนาดจนทำให้เกิดภาวะช็อค หยุดหายใจ หมดสติ ทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ นำไปสู่การเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ (fetal distress) 2.ทารกเกิดก่อนกำหนด เนื่องจากการติดเชื้อร่วมกับการเกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (PROM) รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด 3.ความพิการแต่กำเนิด อาจเกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์เป็นไปได้ 4.ภาวะตับอักเสบที่มีการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ลูกถ้ามารดาเป็น 5.ซิฟิลิสแต่กำเนิด ในรายที่สตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อซิฟิลิสในระยะตั้งครรภ์ 6.การเจริญเติบโตล่าช้า เกิดภาวะ IUGR , SGA ฤทธิ์เฮโรอีนทำให้จำนวนการแบ่งตัว ของเซลล์และจำนวน Growth hormone ลดลง หรือการเกิด hypoxia เรื้อรังก็เป็นสาเหตุให้เกิดเกิดภาวะ IUGR , SGA ได้
เมื่อทารกเกิด ทารกจะขาดเฮโรอีนที่เคย ได้รับจากมารดา ทารกจะแสดงอาการของอาการถอนยาให้เห็นภายใน 24 – 48 ชั่วโมง อาการและอาการแสดงเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่ถอนยา คือ
1.มีอาการหายใจเร็วกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็ว เกิดภาวะ respiratory acidosis 2.อาการทางผิวหนังที่พบบ่อยๆ คือ มารดามีรอยขีดข่วน มีแผลกดทับ ตัวลาย ซีด จากอาการและอาการแสดงของทารกที่มีภาวะถอนยาดังกล่าว ทารกต้องได้รับการ รักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน เพราะเป็นปัญหาสำคัญ คืออาจทำให้เกิด 2.1)ร่างกายเสียสมดุลของน้ำและอิเล็คโตรไลต์ จากการท้องเสียและอาเจียน 2.2)มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการดูดนมได้ไม่ดี 2.3)สมองขาดออกซิเจน เนื่องจากระบบประสาทถูกกดและจากการชัก
1.ประเมินสัญญาณชีพของทารกแรกเกิด และประเมิน apgar score เพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของทารกแรกเกิด 2.สังเกตและบันทึกลักษณะการร้องของทารกและช่วงเวลาทารกร้อง ต้องแยกให้ออกว่าการ ร้องนั้นเกิดเนื่องจากความเจ็บปวดหรือจากความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดออกในสมอง 3.ให้การพยาบาลเกี่ยวกับการนอนหลับของทารก จัดให้ทารกอยู่ในที่สงบเงียบ อุณหภูมิ เหมาะสม ลดสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ทารกตื่น ห่อตัวทารกให้แน่นจะช่วยให้ทารกพักผ่อนได้ดีขึ้น ไม่รบกวนทารกโดยไม่จำเป็น 4.ให้นมกับทารกตามความต้องการ ระหว่างให้นมทารกต้องหยุดพักการให้เป็นระยะ ๆ เนื่องจากทารกดูดนมไม่สะดวก และทารกยังไม่สามารถหายใจทางปากได้ การพักระหว่างการให้นมจึงช่วยป้องกันการหายใจลำบาก ให้นมครั้งละน้อย ๆ ระวังการสำลัก ถ้าทารกยังดูดกลืนไม่ดี อาจจำเป็นต้องให้ทางสายยางแทน เพราะทารกอาจขาดอาหารได้ 5.ในกรณีที่มีการกระตุก หรืออาการชัก ต้องสังเกตอาการ ในกรณีที่ชัก ต้องระวังทางเดินหายใจอุดกั้น ถ้าทารกหยุดหายใจหลังจากการชักต้องช่วยฟื้นคืนชีพ