ไข้หวัดทั่วไป เป็นการติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล มีไข้ต่ำ ส่วนไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
เราอยู่ในสถานการณ์ของโรคระบาดที่ก่อความเสียหายไปทั่วโลกติดต่อกันนานกว่า 2 ปี ท่ามกลางการต่อสู้กับโรคระบาดอย่าง COVID-19 ที่ทุกคนให้ความสำคัญ เราก็ไม่ควรลืมไปว่ายังมีโรคระบาดอีกโรคที่น่ากลัวไม่แพ้กันและมีอยู่มานานแล้ว โรคนั้นก็คือ โรคไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ก่ออาการได้ไม่ต่างจากไข้หวัดทั่วไป คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก รู้สึกอ่อนเพลียหรือปวดตามร่างกาย โดยอาจจะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงได้ โดยส่วนมากมักจะระบาดเป็นฤดูกาล โดยในประเทศไทยช่วงฤดูฝนจะระบาดมากที่สุด รองลงมาก็คือฤดูหนาว
ส่วนมากติดจากการหายใจเอาละอองสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หรืออาจจะติดจากการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วยก็ได้ โดยผู้ที่ติดเชื้อมักแพร่กระจายเชื้อหลังเริ่มมีอากรไป 3-4 วัน แต่บางคนก็นานกว่านั้นได้
ส่วนมากโรคไข้หวัดใหญ่จะระบาดตามฤดูกาล หากมีอาการคล้ายไข้หวัดในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว และมีอาการที่ดูจะรุนแรงหรือเกิดขึ้นเฉียบพลันกว่าไข้หวัด เช่น ไข้สูงติดกัน 1-4 วัน อาจจะมีหนาวสั่นร่วมกับไอ มีน้ำมูก ในผู้ใหญ่มักมีปวดตามตัวร่วมด้วย โดยมักเริ่มมีอาการ 2 วันหลังไปสัมผัสเชื้อมาก
การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค มักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ กลุ่มนี้อาจจะเกิดโรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อทราบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ เพราะมีโอกาสเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ส่วนมากหายเองได้ ถ้าอาการไม่รุนแรงจึงอาจจะรักษาตัวตามอาการ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ทานยาพาราเซตามอง ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนมากๆ อาจใช้ยาลดน้ำมูกและลดเสมหะช่วย หากอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นใน 3 วัน ควรไปพบแพทย์ เพราะไข้หวัดใหญ่มียาต้านไวรัสซึ่งช่วยลดอาการและลดความรุนแรงของโรคได้
นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพทั่วไป ให้มีสุขภาพแข็งแรง ต้านทานโรคได้ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ทางโรงเรียนพรการุญอยากจะย้ำเตือน 2 ข้อใหญ่ๆ ได้แก่