นิ้วล็อค...ภัยร้าย

‘นิ้วล็อค’ ภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ โดยอาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที

18/11/2022

สาเหตุของโรคนิ้วล็อค (Trigger Finger)

เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้

  • ระยะที่ 1 มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ
  • ระยะที่ 2 มีอาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือ แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วได้เอง
  • ระยะที่ 3 กำมือแล้วเกิดอาการล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้เอง ต้องใช้มือมาช่วยง้างออก
  • ระยะที่ 4 ไม่สามารถกำมือได้สุด และอาจมีข้อนิ้วมืองอผิดรูปร่วมด้วย

อาการนิ้วล็อคแบ่งเป็น 4 ระยะ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : งดใช้งาน หรือพักการใช้งาน ประคบเย็น หรือน้ำอุ่น
  • รับประทานยา : ลดอักเสบ ลดบวม
  • ฉีดยา : วิธีนี้จะได้ผลค่อนข้างเร็ว อยู่ได้ประมาณ 2-3 เดือน หรือบางรายอยู่ได้นานกว่านั้น
  • ผ่าตัด : ในกรณีฉีดยาแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ติดโซเซียลใช้สมาร์ทโฟนบ่อย ทำให้เกิด ‘นิ้วล็อค’ หรือไม่?

สำหรับคนที่ติดโซเชียล ถ้าใช้งานเยอะๆ ทั้งวัน เกร็งมากๆ ก็อาจจะทำให้ปวดขึ้นมาได้ ถ้ามีอาการปวดแล้ว ยังทนเล่นอยู่เรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดนิ้วล็อคได้

‘นิ้วล็อค’ รักษาอย่างไรดี

นิ้วล็อค ปล่อยไว้ไม่รักษา มีโอกาสเป็นเรื้อรังหรือไม่

นิ้วล็อค ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะเป็นเรื้อรังได้ไหม จริงๆ แล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่เรื้อรัง ถ้าเกิดยังสามารถขยับนิ้วได้บ้าง เพราะมักจะหายเองได้ แต่ว่ากรณีที่เป็นมาก ติดล็อคเยอะๆ แล้วไม่รักษาเลย จนกลายเป็นภาวะข้อติดแข็ง ก็อาจเป็นเรื้อรังได้