มีคนจำนวนมากที่ตัดสินใจทิ้งอาหารทันทีที่ป้ายบอกว่าหมดอายุแล้ว เพราะไม่อยากจะเสี่ยงกับอาหารเป็นพิษ แต่จริง ๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องทิ้งอาหารเสมอไป แม้ป้ายจะบอกว่าหมดอายุแล้วก็ตาม นั่นก็เพราะวันที่ที่ระบุไว้บนหีบห่ออาหาร ไม่ได้บ่งบอกถึงความปลอดภัยในการบริโภคแต่เพียงอย่างเดียว เป็นเพียงสิ่งที่ผู้ผลิตต้องการบอกเราให้รู้ว่า อาหารนั้นมีคุณภาพ ความสดใหม่ รสชาติ หน้าตาอย่างไรเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นตัวบอกเราว่าอาหารนั้นกินไม่ได้แล้ว
หมายถึง วันที่อาหารนั้น หมดอายุ หลังจากวันนั้น ไม่ควรเอาอาหารนั้นมากิน เพราะ อาหารนั้นจะเน่า เสีย หรือบูดแล้ว จึงห้ามรับประทาน ควรทิ้ง
หมายถึง อาหารจะมีรสชาติดี ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารจนถึงวันนั้น หลังจากวันนั้นไปรสชาติ คุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง แต่จะไม่มีปัญหาในเชิงความปลอดภัย จึงยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้นตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารได้
โดยทั่วไปผู้ผลิตมักจะเลือกใช้คำว่า “ควรบริโภคก่อน” และมักกำหนดวันล่วงหน้าไว้ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้นๆ จะหมดอายุหรือเสีย ดังนั้น วันที่ที่ระบุหลังคำว่า ควรบริโภคก่อน คือ คำแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารนั้น เพื่อความสด รสชาติ และ สารอาหารในอาหารนั้นๆ ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลง หรือ ลดคุณภาพลง
อย่างไรก็ตาม อาหารบางชนิด เช่น อาหารกระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง มักจะยังคงคุณค่าด้านคุณภาพและสารอาหาร ได้อีกนานหลังวันที่แนะนำให้บริโภค การที่จะพิจารว่าควรรับประทานหรือทิ้ง จึงควรสังเกตจาก วันที่ระบุไว้ว่าให้บริโภคก่อน ร่วมกับการสังเกตลักษณะโดยทั่วไปของอาหารนั้น หากเห็นว่าอาหารมีลักษณะ สี กลิ่น และรสเปลี่ยนแปลงไป ก็ไม่ควรรับประทาน