คำแนะนำหนึ่งในแง่การดูแลสุขภาพที่แพทย์มักให้คำปรึกษากันคือ ‘ให้ไปออกกำลังกาย’ ซึ่งแม้จะเป็นประโยคที่พูดได้ง่าย แต่ปฏิบัติจริงกลับไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดจำเพาะต่างๆแตกต่างจากคนทั่วไป หมอจะพาไปดูกันว่าจริงๆแล้วในทางการแพทย์ การออกกำลังกายแบบใดที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด
การเสื่อมสภาพเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในผู้สูงอายุ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือการเกิดโรคต่างๆ การออกกำลังกายนอกจากจะชะลอความเสื่อมตามวัย ทำให้เกิดโรคน้อยลง (เช่นโรคหัวใจ) ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย เตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้กับโรคอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามวัย ลดความเสี่ยงในการหกล้ม และยังเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้เข้าสังคม อันส่งผลอันดีต่อสภาพจิตใจอีกด้วย
การออกกำลังกายทีเหมาะสมกับผู้สูงอายุ แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
ซึ่งการออกกำลังกายแต่ละประเภท ควรเลือกใช้ให้ถูกกับผู้สูงวัยแต่ละคน ตามความต้องการและสภาพร่างกาย เพื่อประโยชน์สูงสุด เช่นผู้สูงอายุที่มีภาวะเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงหกล้ม ควรฝึกการทรงตัวมากกว่าออกกำลังกายประเภทอื่น
ผู้สูงอายุหลายคนมีโรคประจำตัว จึงต้องมีการวางแผนการออกกำลังกายให้เหมาะสมสำหรับแต่ละคน เพื่อความปลอดภัยหากมีโรคมากควรปรึกษาแพทย์ก่อน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการเบ่งหรือเกร็งเพราะจะทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีความรวดเร็ว แข่งขัน หรืออาจต้องมีการปะทะเกิดขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือไม่ควรหักโหมออกกำลังกายหนักจนมากเกินความทนทานของร่างกาย และหยุดพักทันทีหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกาย
ท่าบริหารเหล่านี้เป็นท่ากายบริหารเบื้องต้นง่ายๆที่ทำได้ที่บ้านโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ อาจะทำในขณะนั่งดูโทรทัศน์หรือนั่งเล่นที่บ้านได้ สามารถปฏิบัติได้อย่างปลอดภัย อยากให้ลองเอาไปทำกันดู
1.ท่าบริหารข้อมือและนิ้วมือ ยื่นแขนไปข้างหน้าระดับอก หมุนข้อมือทั้งสองข้างพร้อมกับแบมือออก และหมุนกลับพร้อมกับกำมือเข้า หมุนไปกลับและกำแบสลับกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะเมื่อย
2.ท่าบริหารข้อไหล่ป้องกันไหล่ติด ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งให้แนบติดใบหู เหยียดแขนให้เต็มที่ หากแขนไม่ติดใบหู แสดงว่าเริ่มมีไหล่ติด ให้ใช้กำแพงบ้านช่วย เอามือดันจนรู้สึกตึงที่สุด เมื่อตึงมากแล้วให้ผ่อนกลับมาพัก ยกใหม่เมื่อหายเมื่อย